Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

ผักป๋วยเล้ง(Spinacia oleraceae)

ผักป๋วยเล้ง(Spinacia oleraceae)
มีธาตุเหล็กและแคลเซียมจำนวนมาก โดยทั่วไปร่างกายจะดูดซึมไปใช้ประมาณ 50% แคลเซียมในผักป๋วยเล้งก็เช่นกัน นักโภชนาการได้ทำการศึกษาวิจัยพบว่า กรดออกซาลิก (Oxalic acid) ไม่เพียงแต่มีรสฝาดแล้ว ยังมีปฏิกิริยากับแคลเซียม ทำให้เกิดเป็นตะกอน
ดังนั้นในการผัดผักป๋วยเล้งควรจะลวกผักป๋วยเล้งในหม้อหรือกระทะที่ต้มน้ำจนเดือด วิธีนี้จะเป็นการขจัดกรดออกซาลิกได้ถึง 80% หลังจากนั้นก็นำไปผัดหรือปรุงตามอัธยาศัย จะได้กับข้าวที่อร่อย และไม่ทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ป๋วยเล้งยังมีวิตามินเอสูง คนที่ชอบกินป๋วยเล้งจะเป็นผู้ที่มีสายตาดี ผิวผุดผ่อง และมีวิตามินซีในปริมาณสูงอีกด้วย แต่ผักป๋วยเล้งจะให้พลังงานต่ำ เอาป๋วยเล้งหั่นละเอียดจำนวน 1 ถ้วยตวง จะให้พลังงานเพียง 14 แคลอรี

ผักป๋วยเล้งปลูกได้ตลอดปี แต่จะงอกงามอวบอิ่มในหน้าหนาวดีกว่าช่วงฤดูอื่น เวลาเลือกซื้อควรเลือกใบใหญ่ๆ ถ้าตัดมาใหม่ๆ ใบจะกรอบและสด สีของใบเขียวจัด ถ้าเห็นใบมีรอยช้ำ เน่า เหี่ยวเฉา หรือแมลงกัดพรุนก็ไม่ควรซื้อ เมื่อซื้อมาแล้วตัดส่วนรากทิ้งแต่ให้ผักอยู่รวมเป็นต้น อย่าปลิดใบออก ตัดใบแก่ แล้วล้างน้ำหลายๆครั้ง เอาพวกดินที่ติดมาด้วยออกให้หมด ระวังอย่าให้หนักมือ ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วเก็บใส่ถุงพลาสติกหรือใส่กล่องที่ปิดได้สนิท นำเข้าเก็บในตู้เย็นจะเก็บได้นานประมาณ 3-5 วัน

ผักป๋วยเล้งนี้ใช้ทำอาหารได้หลายอย่าง จะลวกใส่ก๋วยเตี๋ยว ผัดกับหมูแบบผักบุ้งไฟแดง แกงเลียง แกงส้ม แกงจืดหมูสับ ผัดกับน้ำมันหอย หรือจะทำเป็นผักสลัด ผักจิ้มน้ำพริกกินดิบๆก็ได้ทั้งนั้นแล้วแต่ความชอบผักป๋วยเล้งมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอาหรับ ชาว
อาหรับให้สมญาผักป๋วยเล้งว่า “ราชาแห่งผัก”
มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ถั สมัยพระเจ้าถังไท่จง
กษัตริย์เนปาลได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ โดยมีผักป๋วยเล้งอยู่ด้วย

⇒ ชื่อวิทยาศาสตร์ Spinacia oleraceae วงศ์ Channopodiaceae
⇒ สรรพคุณ

ผักป๋วยเล้งมีคุณสมบัติเย็น รสหวาน สรรพคุณบำรุงเลือด ห้ามเลือด รักษาอาการเลือดกำเดาออก อุจจาระเป็นเลือด ท้องผูก

⇒ ตำรับยา
1. ตามองไม่เห็นในตอนกลางคืน (Nyctalopia) ใช้ผักป๋วยเล้ง 300 กรัม ตำให้แหลกคั้นเอาน้ำ ดื่มทุกเช้าและเย็นติดต่อกันระยะหนึ่ง

2. ท้องผูกไม่ถ่าย ใช้ผักป๋วยเล้ง 300 กรัม ลวกในน้ำเดือดแล้วคลุกกับน้ำมันงา กินเช้าและเย็น

3. โลหิตจาง ผัดผักป๋วยเล้งกับตับหมูกินเป็นประจำ

ในผักป๋วยเล้ง 600 กรัม มีโปรตีน 12 กรัม ซึ่งเท่ากับไข่ 2 ฟอง สูงกว่าโปรตีนในผักกาดขาว 2 เท่า และมีคาโรทีน (Carotene) 17.76 ม.ก. ซึ่งมากกว่าในหัวผักกาดขาวผลการทดลองพบว่า คาโรทีนในผักป๋วยเล้งสามารถนำไปใช้ในอัตราสูง ผักป๋วยเล้ง 600 กรัม มีวิตามินซี 174 ม.ก. ซึ่งมากกว่าในหัวผักกาดขาว 2 เท่า สูงกว่าผักกาดขาว 1 เท่า นักวิชาการเชื่อว่าผักป๋วยเล้งเป็นผักที่เหมาะสำหรับเด็กและผู้ป่วย เพราะมีโปรตีนและแร่ธาตุต่างๆ มากมายในผักป๋วยเล้ง 100 กรัม มีปริมาณวิตามินซีที่พอเพียงกับความต้องการของร่างกายใน 1 วัน และมีปริมาณคาโรทีนที่พอเพียงใน 2 วัน
สรรพคุณเพิ่มเติมจากผักใบเขียว พบว่า ปวยเล้ง  หรือผักโขมจีน
มีประสิทธิภาพในการ ป้องกันการทำลายสารสื่อประสาท ทำให้ลดความเสี่ยงโรคความจำเสื่อม    จึงนำสารสกัดจากปวยเล้งเป็นหลักผสมกับสารสกัดจากผักใบเขียวอื่น ๆ เช่นบัวบก และบร็อคโครี่ มาพัฒนาในรูปของยาเม็ด  ซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำรุงสมองและเสริมสร้างความจำ ใช้ได้ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น จนถึงผู้สูงอายุ   โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม.....
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย musa

รายการบล็อกของฉัน