Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

ผักลืมผัวVegetable forget husband

ผักลืมผัว ชื่อวงศ์ Campanulaceae.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lobelia begonifolia Wall
เป็นไม้น้ำ อายุสั้น พบอยู่ตามท้องนาในภาคอีสานและภาคกลาง ทุกส่วนของต้นอวบน้ำ ลำต้นทอดเลื้อยเล็กน้อย ยอดชูตั้งขึ้น ใบรูปไข่ป้อม ออกตรงข้ามกัน ขอบใบหยักฟันเลื่อยห่างๆ ปลายใบแหลม ผลิดอกในช่วงฤดูฝน ดอกเล็ก ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด สีม่วงเข้ม ส่วนผลขนาดเล็ก เมื่อแก่จะแตกออกภายในมีเมล็ดเล็กๆ จำนวนมาก ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นท้องนา

วิธีบริโภคผักชนิดนี้เป็นที่นิยมในภาคอีสาน พบครั้งแรกที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ชาวบ้านจะเก็บยอดมาล้างให้สะอาด กินกับน้ำพริก ลาบ แจ่ว ส้มตำ หรืออาหารรสจัดต่าง ๆ มีรสมันฝาดเล็กน้อย เข้ากับอาหารอีสานได้เป็นอย่างดี ที่ชื่อผักลืมผัวก็เพราะว่าภรรยากินอร่อยเพลินจนลืมเหลือถึงสามี คุณป้าท่านหนึ่งเก็บขายเป็นประจำเล่าว่า ปัจจุบันหายาก มีเฉพาะช่วงฤดูฝน และมีบางท้องนาเท่านั้น จึงไม่ค่อยมีคนรู้จักกันมากนัก คาดว่าบางที่จะสูญพันธุ์ไปแล้ว

วิธีปลูกผักลืมผัว ชอบดินเหนียว มีอินทรีย์วัตถุสูงและชุ่มชื้น มีน้ำขังตื้นๆ 20-30 ซม. แสงแดดครึ่งวัน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ซึ่งในธรรมชาติ เมื่อต้นผลิดอกออกผลจนแก่และติดเม็ดร่วงตามดิน เมื่อถึงหน้าน้ำจะงอกเติบโตต่อไป แต่ถ้าขุดต้นมาลองปลูกมักตายก่อนติดผล
*ข้อมูลเพิ่มเติม ชื่อทั่วไป
Name ผักลืมผัว
ชื่อท้องถิ่นLocal Name ผักลืมผัว จักล่ะเด้อ ผักแขยง (ภาคอีสาน)
ชื่อสามัญCommon Name

ชื่อวิทยาศาสตร์
Scientific Name Lobelia begonifolia Wall.
Taxonomy
Kingdom-Plantae
Division-Magnoliophyta
Class-Magnoliopsida
Order-Campanulales
Family-Campanulaceae
Genus-Lobelia
Specific-epithet begonifolia
Variety
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ประเภทพืช พืชดอก
บรรยายลักษณะ
*ต้น: เป็นพืชล้มลุกสะเทินน้ำสะเทินบก ลำต้นจะลักษณะเหมือนไม้เลื้อยทอดยอด ลำต้นอวบน้ำ สูง 15-20 เซนติเมตร ต้นและใบเมื่อหักดูจะมีกลิ่นหอมฉุน
*ใบ:ใบเดี่ยว รูปหอก ก้านใบสั้น ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบออกตรงกันข้ามและตั้งฉากกับคู่ถัดไป
*ดอก:ดอกออกเป็นช่อ ที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาวมีขน กลีบดอกสีม่วงแดง โคนกลีบติดกันเป็นหลอดยาว ปลายกลีบแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งมี 2 กลีบ อีกส่วนหนึ่งมี 3 กลีบ ผลขนาดเล็ก
*นิเวศวิทยาและการกระจายพันธ์พบขึ้นในน้ำหรือที่ชื้นแฉะพบมาก
ในนาข้าว  
สถานภาพพืช 
(ตามหลัก IUCN ปี 1994)
*ไม่อยู่ในบัญชี IUCN ปี 1994
*สถานภาพพืช (ตามหลัก IUCN ปี 1994-2001 Version 3.1-2001)
*ไม่อยู่ในบัญชี IUCN ปี 1994-2001 พระราชกฤษฎีกา กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530
*ไม่อยู่ในพระราชกฤษฎีกา กำหนดไม้หวงห้าม
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดยmusa

รายการบล็อกของฉัน