ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Gynandropsis gynandra
ค้นหา วงศ์ : CAPPARIDACEAE
ชื่อที่เรียก : ทั่วๆ ไปเรียก ผักเสี้ยนไทย ผักเสี้ยนตัวผู้ ส้มเสี้ยน ทางพายัพเรียกผักส้มเสี้ยน
ลักษณะ : ผักเสี้ยนไทย เป็นไม้ล้มลุกเล็กๆ เนื้ออ่อน จำพวกผัก เช่นเดียวกับพวกต้นแมงลักหรือต้นโหระพา ใบมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับผักเสี้ยนผี และฝักก็คล้ายคลึงกัน แต่ไม่มีขน ใบและต้นไม่มีขน
ต้นสูงประมาณ 1 ฟุตเศษ ดอกมีสีขาวๆ ม่วงๆ เป็นประแดงเรื่อๆ ลำต้นและกิ่งก้านเกลี้ยงเกลา ฝักยาวคล้ายฝักของต้นผักเสี้ยนผี
ประโยชน์ : ใบและยอดอ่อน ใช้ดองรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือทำเป็นอาหารอื่นได้
การเจริญเติบโต : เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วๆ ไป และสถานที่ชื้นแฉะทั่วๆ ไป
ประโยชน์ : ใบและยอดอ่อน ใช้ดองรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือทำเป็นอาหารอื่นได้
การเจริญเติบโต : เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วๆ ไป และสถานที่ชื้นแฉะทั่วๆ ไป
เป็นไม้ที่ปลูกขึ้นได้ง่าย ไม่เลือกดินและภูมิประเทศ
สรรพคุณ : ต้น แก้โลหิตระดูเน่าเสีย เมล็ด ฆ่าไส้เดือนในท้อง ใช้ทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้เจ็บหลัง ตามตำรากล่าวว่า สตรีรับประทานมากๆ จะทำให้โลหิตระดุพิการ ทำให้มีโลหิตระดูขาวมมาก กลิ่นเหม็นจัด
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของผักเสี้ยนคือ ใบ ยอดอ่อน เมล็ด และต้น
สรรพคุณในทางสมุนไพรและวิธีใช้
*. ใบ ตำพอกหรือทาแก้ปวดเมื่อย แก้ปวดหู พอกรักษาฝีและอาการระคายเคือง
*. ราก ต้มรับประทานเป็นยาแก้ไข้เลือดออกตามไรฟัน
*. เมล็ด ใช้ขับพยาธิไส้เดือน ขับเสมหะ
*. ทั้งต้น ต้มหรือดองก่อนใช้กินมีสรรพคุณในการขับระดู หรือตำพอกแก้ปวดเมื่อยเรียกเลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนัง ปรุงเป็นยาแก้เจ็บหลัง แก้เมาสุรา บรรเทาอาการระคายเคือง แก้พิษแมลงป่องต่อย งูกัด ประจำเดือนเสีย (ในตำราไทย ระบุว่าสตรีห้ามกินมากๆ เพราะจะทำให้ระดูพิการมีระดูขาวมากและมีกลิ่นเหม็นจัด ทำให้มดลูกไม่ดี แม่ลูกอ่อนกินแล้วอันตรายถึงตาย กินมากๆอาจเป็นลมได้)
ผักเสี้ยนถ้ารับประทานดิบจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน หายใจขัด กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผักตามฤดูกาล ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนของผักเสี้ยนออกในฤดูฝน ส่วนการปรุงอาหารนั้น คนไทยไม่บริโภคผักเสี้ยนสด ต้องนำไปดองทำเป็นผักเสี้ยนดองก่อน จึงนำไปรับประทานเป็นผัก จากข้อมูลรายงานว่า
สรรพคุณ : ต้น แก้โลหิตระดูเน่าเสีย เมล็ด ฆ่าไส้เดือนในท้อง ใช้ทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้เจ็บหลัง ตามตำรากล่าวว่า สตรีรับประทานมากๆ จะทำให้โลหิตระดุพิการ ทำให้มีโลหิตระดูขาวมมาก กลิ่นเหม็นจัด
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของผักเสี้ยนคือ ใบ ยอดอ่อน เมล็ด และต้น
*. ใบ ตำพอกหรือทาแก้ปวดเมื่อย แก้ปวดหู พอกรักษาฝีและอาการระคายเคือง
*. ราก ต้มรับประทานเป็นยาแก้ไข้เลือดออกตามไรฟัน
*. เมล็ด ใช้ขับพยาธิไส้เดือน ขับเสมหะ
*. ทั้งต้น ต้มหรือดองก่อนใช้กินมีสรรพคุณในการขับระดู หรือตำพอกแก้ปวดเมื่อยเรียกเลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนัง ปรุงเป็นยาแก้เจ็บหลัง แก้เมาสุรา บรรเทาอาการระคายเคือง แก้พิษแมลงป่องต่อย งูกัด ประจำเดือนเสีย (ในตำราไทย ระบุว่าสตรีห้ามกินมากๆ เพราะจะทำให้ระดูพิการมีระดูขาวมากและมีกลิ่นเหม็นจัด ทำให้มดลูกไม่ดี แม่ลูกอ่อนกินแล้วอันตรายถึงตาย กินมากๆอาจเป็นลมได้)
ผักเสี้ยนถ้ารับประทานดิบจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน หายใจขัด กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผักตามฤดูกาล ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนของผักเสี้ยนออกในฤดูฝน ส่วนการปรุงอาหารนั้น คนไทยไม่บริโภคผักเสี้ยนสด ต้องนำไปดองทำเป็นผักเสี้ยนดองก่อน จึงนำไปรับประทานเป็นผัก จากข้อมูลรายงานว่า
ผักเสี้ยนสดมีสารไฮโดรไซยาไนต์ (Hydrocyanide) ซึ่งมีพิษต่อประสาทส่วนกลาง เมื่อนำมาดองหรือต้ม สารพิษนี้จะสลายไป
วิธีดองผักเสี้ยน การดองผักเสี้ยนทำได้โดย นำผักเสี้ยนมาเด็ด หรือหั่นเป็นท่อน ขนาดพอเหมาะ นำไปตากแดดพอหมาดๆ เพื่อขจัดกลิ่นเหม็นเขียวทิ้งไป จากนั้นจึงเอาข้าวสุกเย็น 1 กำมือ ต่อผักเสี้ยน 5 ถ้วยแกง ขยำกับเกลือให้มีรสเค็มเล็กน้อยแล้วนำผักเสี้ยนที่เตรียมไว้ใส่ลงไป
ใส่น้ำตาลโตนด 5 ช้อนแกง คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ปิดฝาภาชนะ ตั้งทิ้งไว้ในร่ม 3-4คืน
ผักเสี้ยนจะมีรสเปรี้ยว นำมารับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำไปแกงกระดูกหมู หรือแกงส้มกับกุ้ง หรือปลาก็ได้
เรียบเรียงข้อมูลโดยMANMAN